หน้าแรก เกี่ยวกับเราสถานกงสุล รัฐในเขตอาณา รัฐกรณาฏกะ
รัฐกรณาฏกะ
  • รัฐกรณาฏกะตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย เดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ รัฐไมซอร์
  • รัฐกรณาฏกะเป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ ๖ ของประเทศ และมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ ๘ ของประเทศ
  • รัฐกรณาฏกะมีอาณาเขตติดต่อกับ ๖ รัฐ โดยทิศเหนือติดกับรัฐมหาราษฏระ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับรัฐกัว ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับรัฐเกรละ ทิศตะวันตกติดกับทะเลอาราเบียน ทิศตะวันออกติดกับรัฐอานธรประเทศ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับรัฐเตลังคานา และทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับรัฐทมิฬนาฑู
  • ลักษณะภูมิประเทศของรัฐกรณาฏกะประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งทางตะวันตก และเป็นที่สูงและเขตหุบเขาทางฝั่งตะวันออก โดยมีพื้นที่ติดกับเทือกเขา Ghat และเขตที่ราบสูงเดคคานทางตอนเหนือของรัฐ
  • รัฐกรณาฏกะมีภูมิอากาศที่หลากหลาย โดยเขตพื้นที่ราบสูงและภูเขาจะมีอากาศเย็นสบาย ขณะที่เขตพื้นที่ราบจะมีอากาศอุ่นกว่า โดยเมืองบังคาลอร์ซึ่งเป็นเมืองทางใต้และตั้งอยู่บนที่ราบสูงไมซอร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตที่ราบสูง เดคคานเป็นเมืองที่มีอากาศเย็นสบายตลอดปี จึงได้ชื่อว่าเป็น “air-conditioned city” ช่วงฤดูร้อนของรัฐกรณาฏกะ จะเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม โดยสองเดือนดังกล่าวจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุด เฉลี่ยประมาณ ๓๔ องศาเซลเซียส ส่วนช่วงฤดูมรสม จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายน โดยพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของ รัฐจะมีฝนตกชุกเนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุม ขณะที่ฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๒๐ - ๓๒ องศาเซลเซียส
  • รัฐกรณาฏกะมีแม่น้ำรวมหลายร้อยสาย ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขา Ghat ตะวันตกและหุบเขาสูง โดยแม่น้ำสายสำคัญของรัฐกรณาฏกะ ได้แก่ แม่น้ำ Kaveri แม่น้ำ Kabini แม่น้ำ Penner แม่น้ำ Sharavathi แม่น้ำ Kali และแม่น้ำ Thungabhadra เป็นต้น
  • รัฐกรณาฏกะแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๓๐ อำเภอ (District) และ ๑๐ จังหวัด (City) ได้แก่ Bangalore, Hubli-Dharwad, Mysuru, Gulbarga, Belgaum, Mangalore, Davangere, Bellary, Vijayapur and Shimoga
  • เมืองหลวงของรัฐกรณาฏกะคือเมืองบังคาลอร์ ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะเป็น “Silicon Valley of India” โดยมี ความโดดเด่นในการพัฒนาอุตสาหกรรม IT การจ้างงานส่วนใหญ่ในบังคาลอร์จึงเป็นบริษัทซอฟแวร์ข้ามชาติของอินเดียและของต่างประเทศ


ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่ ๑๙๑,๗๙๑ ตารางกิโลเมตร
ประชากร (๖๙.๓๗ ล้านคน)
เมืองหลวง บังกาลอร์ หรือ เบงการูลู    
ศาสนา  ฮินดู (ร้อยละ ๘๓) มุสลิม (ร้อยละ ๑๑)
คริสต์ (ร้อยละ ๔) อื่น ๆ (ร้อยละ ๒)
ผู้ว่าการรัฐ นาย Vajubhai Rudabhai Vala
มุขมนตรี นาย B. S. Yediyurappa
ภาษาราชการ กันนาดา อูรดู อังกฤษ
 

ข้อมูลเศรษฐกิจ
GSDP  ๒๒๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๖๒)
GDP per Capita  ๒,๕๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๖๒)
GDP Growth  ร้อยละ ๑๔.๗ (ปี ๒๕๖๒)
สกุลเงิน รูปี (๑ รูปี ประมาณ ๐.๕๐ บาท) (ปี ๒๕๖๓)
ทรัพยากรสำคัญ ทองคำ เงิน แร่เหล็ก แมงกานีส โครไมท์ หินปูน อะลูมิเนียม ทองแดง และดินเหนียวสำหรับ ทำเครื่องเคลือบ
อุตสาหกรรมหลัก การออกแบบและสร้าง เครื่องบิน ยานยนต์ เหล็ก ซีเมนต์ IT ไบโอเทคโนโลยี สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง น้ำตาล ยาและแปรรูปอาหาร
สินค้าส่งออก ผลไม้ เครื่องเทศ และกาแฟ
ตลาดส่งออก อเมริกา อังกฤษ ออสเตเลีย ตุรกี ฝรั่งเศส ศรีลังกา ไทย ตะวันออกกลาง จีน เม็กซิโก อิสลาเอล เยอรมัน เกาหลี ญี่ปุ่น รัสเซีย สิงคโปร์ อิตาลี เบลเยี่ยม แคนนาดา บังคลาเทศ นิวซีแลนด์ สเปน


ศักยภาพทางเศรษฐกิจ
  • มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก ได้มีการปรับปรุงนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ของภาคอุตสาหกรรม และเหมาะสมกับสถาพเศรษฐกิจภายในรัฐ
  • มีบรรยากาศการลงทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุน ขั้นตอนการติดต่อกับรัฐเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีระบบ สาธารณูประโภคต่าง ๆ รองรับ รวมถึงระบบการติอต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  • มีแรงงานที่มีฝีมือและทักษะเป็นจำนวนมาก ประชากรมีการศึกษาดี (อัตราการรู้หนังสือ ๗๕.๓๖%)
  • มีสถาบันการศึกษา ทั้งระดับมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และอาชีวศึกษา จำนวนมาก
  • เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาองค์ความรู้  


นโยบายทางเศรษฐกิจ
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดการลงทุนของคนนอกพื้นที่
  • นโยบายรถยนตร์พลังงานไฟฟ้าและการจัดเก็บพลังงานของรัฐกรณาฏกะ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้รัฐกรณาฏกะเป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมสำหรับการผลิตรถยนตร์ไฟฟ้า และสนับสนุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งพัฒนาศักยภาพแรงงานตามที่โรงงานต้องการ
  • นโยบายสำหรับธุรกิจเกิดใหม่ในรัฐกรณาฏกะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สตาร์ทอัพกว่า ๒๐,๐๐๐ ราย เติบโตขึ้นได้ และเพิ่มอัตราการจ้างงานประมาณ ๑.๘ ล้านคนในสายงานเทคโนโลยี
  • นโยบายการท่องเที่ยวรัฐกรณาฏกะมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในรัฐกรณาฏกะ
  • นโยบายส่งเสริมการลงทุนด้านแอนิเมชัน วิชวลกราฟิก เกม และคอมมิค มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านดังกล่าว
  • นโยบายอุตสาหกรรมรัฐกรณาฏกะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐกรณาฏกะเป็นแหล่งลงทุนในทุก ๆ ด้านอย่างยั่งยืน
  • นโยบายด้าน Electronic System Design and Manufacturing (ESDM) มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก สนับสนุน และพัฒนาสายการผลิตด้าน ESDM ในรัฐกรณาฏกะ และให้รัฐเป็นแหล่งลงทุนในด้านนี้
  • นโบายพัฒนาอุตสากรรมการเกษตรแบบบูรณาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐมีการพัฒนาด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของเทคโนโลยีและนวัตกรรมของของโลก โดยผลักดันให้มีการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย
  • นโยบายด้านไอซีทีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐกรณาฏกะเป็นผู้นำการให้การให้บริการด้าน IT และคงความเป็นรัฐที่มีผู้เชี่ยวชาญด้าน IT มากที่สุดในอินเดีย รวมทั้งให้รัฐกรณาฏกะเป็นจุดหมายในการลงทุนด้านธุรกิจทั้งในระดับจุลภาค เล็ก และระดับกลาง
  • นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้เกิดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น โดยจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและผลประโยชน์ของเจ้าของพื้นที่เดิม
  • นโยบายด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกรอบนโยบายที่มีความยุติธรรมและโปร่งใสในการผลักดันให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดหุ้นส่วนในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคระหว่างภาครัฐและเอกชน