หน้าแรก เกี่ยวกับเราสถานกงสุล รัฐทมิฬนาฑู
รัฐทมิฬนาฑู
  • รัฐทมิฬนาฑูมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย
  • รัฐทมิฬนาฑูมีการเติบโตทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของประเทศอินเดีย
  • รัฐทมิฬนาฑูมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตยานยนต์และการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของอินเดีย
  • รัฐทมิฬนาฑูมีพื้นที่มากเป็นอันดับ ๑๐ ของประเทศ และมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ ๖ ของประเทศ
  • รัฐทมิฬนาฑูมีอาณาเขตติดต่อกับ ๓ รัฐ โดย ทิศตะวันตกติดกับรัฐ เกรละ ทิศเหนือติดกับรัฐกรณาฏกะและรัฐอานธรประเทศ ทิศตะวันออกและทิศใต้เป็นพื้นที่ชายฝั่ง นับว่าเป็นรัฐที่มีพื้นที่ชายฝั่งที่ยาวที่สุดเป็นอันดับ ๓ ของประเทศอินเดีย
  • ลักษณะภูมิประเทศของรัฐทมิฬนาฑูประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งทางตะวันออก และเป็นที่สูงและเขตหุบเขาทางฝั่งตะวันตก โดยมีพื้นที่ติดกับเทือกเขา Ghat
  • รัฐทมิฬนาฑูมีภูมิอากาศแบบเขตร้อน มีอุณหภูมิสูงตลอดปี ฤดูแล้งจะอยู่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม โดยอุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน เฉลี่ยประมาณ ๓๘ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม ขณะที่มีช่วงลมมรสุมสองช่วง คือ ช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะพัดมาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน และช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งจะพัดมาในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
  • รัฐทมิฬนาฑูมีแม่น้ำรวมกว่า ๑๐๐ สาย ซึ่งถือว่ามีจำนวนไม่มาก และเป็นรัฐที่ค่อนข้างขาดแคลนน้ำ โดยแหล่งน้ำส่วนใหญ่มาจากฝนที่ตกในช่วงฤดูมรสุม แม่น้ำสายสำคัญของรัฐทมิฬนาฑู ได้แก่ แม่น้ำ Kaveri แม่น้ำ Ponnaiyar แม่น้ำ Palar แม่น้ำ Vaigai และแม่น้ำ Tambraparni
  • รัฐทมิฬนาฑูแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๓๒ อำเภอ (District) ๑๐ เขตเทศบาล (Municipal corporation) และ ๑๒๕ เขตเทศบาลเมือง (Municipalities) โดยเมืองที่สำคัญของรัฐทมิฬนาฑู ได้แก่ เมืองเจนไน (Chennai) ซึ่งเป็นเมืองหลวง เมือง Coimbatore เมือง Madurai เมือง Trichy และเมือง Salem
  • เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู คือเมืองเจนไน หรือเป็นที่รู้จักในนามของ “Detroit of India” โดยเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมยานยนต์ขนาดใหญ่จากทั้งในและต่างประเทศ


ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่ ๑๓๐,๐๕๘ ตารางกิโลเมตร
ประชากร (๗๒.๑ ล้านคน )
เมืองหลวง เจนไน
ศาสนา  ฮินดู (ร้อยละ ๘๗.๕๘) คริสต์ (ร้อยละ ๖.๑)  
มุสลิม (ร้อยละ ๕.๙) อื่น ๆ (ร้อยละ ๐.๒๕)
ผู้ว่าการรัฐ นาย Banwarilal Purohit
มุขมนตรี นาย Edappadi K. Palaniswami
ภาษาราชการ ทมิฬ,อังกฤษ
 

ข้อมูลเศรษฐกิจ
GSDP ๒๓๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๖๑)
GDP per Capita  ๒,๗๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๖๑)
GDP Growth  ร้อยละ ๑๔.๗ (ปี ๒๕๖๑)
สกุลเงิน รูปี (๑ รูปี ประมาณ ๐.๕๐ บาท) (ปี ๒๕๖๓)
ทรัพยากรสำคัญ ถ่านหินลิกไนต์ หินดูไนต์  โกเมน แร่ธาตุโมลิบดีนัม ข้าว ข้าวโพด ข้าวไรย์ ถั่วลิสง อ้อย
อุตสาหกรรมหลัก IT โรงงานผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วน
สินค้าส่งออก รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ มวลชน ตู้รถไฟ เรือ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เครื่องจักร เหล็ก อลูมิเนียม อุปกรณ์ขนส่ง สิ่งทอ รองเท้า เครื่องหนัง เคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ พลาสติก ของเล่น การแปรรูปอาหาร อาหารทะเล ผัก ผลไม้ ชาและกาแฟ
ตลาดส่งออก อเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป ออสเตเลีย สหรัสอาหรับเอมิเรต ศรีลังกา ไทย ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน เม็กซิโก ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ รัสเซีย สิงคโปร์ แคนนาดา


ศักยภาพทางเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจหลักของเมืองเจนไน ได้แก่ การผลิตรถยนต์ เทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผู้ส่งออกซอฟต์แวร์และบริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศรายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ รองจากเมืองบังคาลอร์ รัฐกรณาฏกะ และเมืองไฮเดอราบาด รัฐเตลังคานา มีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาคที่ตั้งของสถาบันการเงินหลากหลายประเภท
  • รัฐทมิฬนาฑูมีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีภูมิทัศน์ธรรมชาติทางทะเลลึกที่สวยงามระดับโลก และเมืองเจนไนเป็นที่จัดงานฤดูกาลดนตรีมัทราส (Madras Music Season) กิจกรรมทางวัฒนธรรมประจำปีซึ่งมีการแสดงจากศิลปินหลายร้อยคน เป็นศูนย์กลางสำคัญของนาฏศิลป์ชั้นสูงประเภทหนึ่งของอินเดีย คือ ภารตนาฏยัม
  • การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากหลากหลายแหล่งธรรมชาติ เช่น พลังลม พลังน้ำ พลังความร้อน
  • สินค้าที่มีจำนวนมากของรัฐทมิฬนาฑู เป็นพวกอาหาร (ผลไม้สด แห้งแปรรูป) แป้งมัน ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องประดับเงิน ชิ้นส่วนยานยนต์


นโยบายเศรษฐกิจ
  • มีนโยบายสนับสนุนการผลิตให้เพิ่มขึ้นปีละ ๑๔ %
  • มีนโยบายให้มีการลงทุน ๑๕ พันล้านรูปีในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า เพื่อให้บรรลุการเจริญเติบโตของการผลิต
  • มีนโบบายพัฒนาระบบคมนาคมให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล อาทิเช่น ถนน และ ท่าเรือ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐโดยรวม
  •  เพิ่มขีดความสามารถการจราจรของถนนสาธารณะ ขยายทางหลวง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัด
  • มีนโยบายสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมขนาดเล็ก กลาง และใหญ่
  • พัฒนาภาคการบินและอวกาศครอบคลุมการออกแบบและการผลิตอากาศยานสำหรับภาคพลเรือน และกลาโหม
  • เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
  • ส่งเสริมให้รัฐทมิฬนาฑูเป็นศูนย์กลางทางด้านพลังงานแสงอาทิตย์
  • ส่งเสริมการลงทุนโดยเฉพาะ บริษัท ด้าน IT และ ITeS, MSMEs และ Start-ups
  • ส่งเสริมการวิจัยและอุตสาหกรรมไอทีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ปรับปรุงและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น การบินและอวกาศนาโนเทคโนโลยี ฯลฯ